รู้จักวิชาหลักในภาค ก. ก่อนคิดสอบราชการ
รู้จักวิชาหลักในภาค ก. ก่อนคิดสอบราชการ
ว่าด้วยเรื่องการสอบเข้ารับราชการ ถึงแม้ว่าจะมีการจัดให้สอบภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. มาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ในเรื่องหลักสูตรของแต่ละภาคนั้น มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง มาต่อเรื่อย ๆ จนกระทั่งในห้วง 2-3 ปี ย้อนหลัง มีการนำกฎหมายและจริยธรรม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสอบภาค ก. ซึ่งเมื่อก่อนหน้านั้นหลายปี ไม่มีเรื่องนี้
ก่อนที่จะสอบเข้ารับราชการ จะต้องเริ่มต้นอย่างไรบ้าง
1) เริ่มต้นจากภาค ก. (ทั้งข้าราชการพลเรือน พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการครู) ว่าแต่ภาค ก. เขาสอบอะไรกันบ้างนะ มาดูและวางแผนไปด้วยกัน
เมื่อสอบผ่านภาค ก. เสร็จสับแล้ว สำนักงาน ก.พ. จะออกหนังสือรับรองให้ ถือเป็นผู้มีสิทธิสอบภาค ข. ต่อไป
มาถึงจุดนี้ ถือเป็นความสำเร็จ 33% แล้วอีกนิดเดียววววว
หลังจากที่มีชื่อในระบบใบรับรองภาค ก. ของ ก.พ. เราจะใช้หนังสือรับรองนี้ สมัครสอบในหน่วยงานราชการที่เปิดสอบภาคความรู้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ตามที่เว็บไซต์ต่าง ๆ ลงประกาศ ก็ให้ศึกษาคุณสมบัติแล้วลุยกันเลยยย
2) ดำเนินการสอบภาค ข. มีหลักสูตรแตกต่างกันไปแล้วแต่หน่วยงาน ให้ทุกคน ศึกษาประกาศรับสมัครทุกครั้ง
เมื่อสอบผ่านภาค ข. เท่ากับสำเร็จแล้ว 66% ว้าวววว น่าตื่นเต้นนนน!!
3) สอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) เป็นภาคที่ใช้ความสามารถในการพูด ประกอบกับไหวพริบ ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยตอบคำถามสัมภาษณ์จากคณะกรรมการ 2-4 คน แล้วแต่หน่วยงาน
ในสนามภาค ค. มีคะแนนไหวพริบในการตอบคำถาม และเชาว์ในการวิเคราะห์แบบสดๆๆ
หลังจากนี้ หน่วยงานจะประมวลผลคะแนน แล้วประกาศขึ้นบัญชี
ผู้ที่จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ จะต้องอยู่ในลำดับที่หน่วยงานต้องการ
แต่สำหรับใครที่มีลำดับที่ไกลๆ หน่วยงานก็ยืดหยุ่นไว้ โดยกำหนดให้มีอายุบัญชีที่ประกาศนั้น 2 ปี ถ้าไม่มีการเปิดสอบในตำแหน่งนั้นอีก
หรือบางหน่วยงานใจดี ก็จะอนุญาตให้หน่วยงานอื่นร่วมใช้บัญชีผู้สอบได้
ถึงขั้นตอนนี้ ก็นับว่า 90% กว่า ที่รอความสำเร็จแล้ว
เห็นมัยละครับ สอบเป็นข้าราชการ ไม่ยาก และก็ไม่ง่าย หากท่านวางแผนไว้แล้วอย่างดี แอดมินรับรองได้เลยว่า 6 เดือนเป็นอย่างเร็ว หลังสอบผ่าน ก.พ. ท่านจะได้บรรจุเป็นข้าราชการแน่นอน แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่าท่านสอบผ่านไว้กี่หน่วยงาน ยิ่งมากหน่วย ยิ่งมีโอกาสมา สู้ๆ ครับบบ
ขอบคุณภาพประกอบจาก : สำนักงาน ก.พ.
No comments
Post a Comment