กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2567

 

ข้าราชการพลเรือน ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 

เท่าใด ตำแหน่งใดบ้าง 


สำนักงาน ก.พ. กำหนดกฎว่าด้วยการให้ข้าราชการ

พลเรือนได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2567



รายละเอียดโดยสรุป

ตำแหน่งต่อไปให้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราที่กำหนด ดังนี้


1. ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น         อัตรา 10,000    บาท

2. ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (ยกเว้นตาม 3.) อัตรา    14,500    บาท

3. ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง อัตรา 21,000 บาท ในตำแหน่งดังนี

    3.1 หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง

    3.2 หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงตามที่ ก.พ. กำหนด

    3.3 ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ตามที่ ก.พ. กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้

4. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น อัตรา    5,600 บาท

5. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง อัตรา 10,000 บาท

6. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ อัตรา     3,500    บาท

7. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ อัตรา    5,600    บาท

8. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ อัตรา    9,900    บาท

9. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ    อัตรา    13,000    บาท

10. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด อัตรา    15,600    บาท

11. ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ อัตรา    9,900    บาท




บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ. นี้

1. ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง : ทุกสายงาน

2. ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น : ทุกสายงาน

3. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง : ทุกสายงาน

4. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น : ทุกสายงาน

5. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ : ทุกสายงาน

6. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ : ทุกสายงาน

7. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ได้แก่

    7.1 สายงานกายภาพบำบัด

    7.2 สายงานกายอุปกรณ์

    7.3 สายงานกิจกรรมบำบัด

    7.4 สายงานจิตวิทยาคลินิค

    7.5 สายงานทันตแพทย์

    7.6 สายงานชีววิทยารังสี

    7.7 สายงานเทคนิคการแพทย์

    7.8 สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก

    7.9 สายงานนายสัตวแพทย์

    7.10 สายงานพยาบาลวิชาชีพ

    7.11 สายงานแพทย์

    7.12 สายงานแพทย์แผนไทย

    7.13 สายงานเภสัชกรรม

    7.14 สายงานรังสีการแพทย์

    7.15 สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย

    7.16 สายงานนิวเคลียร์เคมี

    7.17 สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์

    7.18 สายงานฟิสิกส์รังสี

    7.19 สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์

    7.20 สายงานวิศวกรรมการเกษตร

    7.21 สายงานวิศวกรรมเครื่องกล

    7.22 สายงานวิศวกรรมชลประทาน

    7.23 สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์

    7.24 สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม

    7.25 สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า

    7.26 สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร

    7.27 สายงานวิศวกรรมโยธา

    7.28 สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่

    7.29 สายงานวิศวกรรมโลหการ

    7.30 สายงานสถาปัตยกรรม

8. ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ได้แก่

    8.1 สายงานคีตศิลป์

    8.2 สายงานดุริยางคศิปล์

    8.3 สายงานนาฏศิลป์

    8.4 สายงานปฏิบัติงานช่างศิลปกรรม










No comments

Powered by Blogger.