ความรู้เกี่ยวกับ "การสอบแข่งขัน" กับ "การสอบคัดเลือก" เข้ารับราชการ
ความรู้เกี่ยวกับ คำว่า "การสอบแข่งขัน" เพื่อบรรจุ
รับราชการ กับ "การสอบคัดเลือก " เพื่อบรรจุ
รับราชการ หมายถึงอะไร และแตกต่างกันอย่างไร
วันนี้พาเพื่อน ๆ มาทำความเข้าใจกันครับ... หลาย ๆ คน ที่อยู่ระหว่างการหางาน เพื่อสอบบรรจุ หรือผู้สนใจสมัครสอบแข่งขัน จำนวนไม่น้อยเลยนะครับที่เคยเจอวลีที่ว่า "รับสมัครสอบแข่งขัน" แล้วก็ "รับสมัครสอบคัดเลือก" หรือแม้กระทั่ง "รับสมัครเพื่อสรรหาและเลือกสรร" ซึ่งอ่านแล้วอาจต้องเอ๊ะ! เอ๊ะ เอ๊ะ มันคืออะไร?? และได้ตั้งข้อสังเกตไหมครับว่า
วันนี้พาเพื่อน ๆ มาทำความเข้าใจกันครับ... หลาย ๆ คน ที่อยู่ระหว่างการหางาน เพื่อสอบบรรจุ หรือผู้สนใจสมัครสอบแข่งขัน จำนวนไม่น้อยเลยนะครับที่เคยเจอวลีที่ว่า "รับสมัครสอบแข่งขัน" แล้วก็ "รับสมัครสอบคัดเลือก" หรือแม้กระทั่ง "รับสมัครเพื่อสรรหาและเลือกสรร" ซึ่งอ่านแล้วอาจต้องเอ๊ะ! เอ๊ะ เอ๊ะ มันคืออะไร?? และได้ตั้งข้อสังเกตไหมครับว่า
ทำไมบางหน่วยงานประกาศเปิดรับสมัครสอบ แต่ทำไมบางหน่วยงานประกาศสอบคัดเลือก หรือบางทีก็ประกาศทั้งสอบคัดเลือกและสอบแข่งขัน หรือบางตำแหน่งที่ประกาศรับสมัครเข้าทำงาน ไม่มีการสอบแข่งขันเลย มีเพียงการสอบคัดเลือกเพียงอย่างเดียว ทำนองนี้ ??
เพจศูนย์ข่าวเปิดสอบงานราชการ โดยแอดมิน เคยสงสัยมาก่อน จึงมาสร้างความเข้าใจให้กับทุกท่านได้พอสมควร นอกจากการทำความเข้าใจกับการสอบแข่งขัน และการสอบคัดเลือกแล้ว ยังมีวลีต่าง ๆ ที่ใช้เป็นภาษาราชการที่มีปรากฏในเอกสารประกาศรับสมัครบุคคลเข้าทำงานของส่วนราชการอยู่บ่อย ๆ เช่น การแต่งตั้ง การบรรจุ การโอน การย้าย การเลื่อน ฯลฯ ติดตามรายละเอียดด้านล่างเลยครับ
1. การสอบแข่งขัน หมายถึง
การสรรหาบุคคล โดยใช้วิธีการจัดสอบข้อเขียน (โดยวิธีอัตนัย และหรือวิธีปรนัย) การสอบภาคปฏิบัติ และการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งผู้สอบจะต้องแข่งขันด้วยคะแนน และจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ที่สอบแข่งขันได้ พูดง่าย ๆ ก็คือ การเสาะแสวงหาบุคคลด้วยวิธีการใด ๆ ดังกล่าวข้างต้น โดยมีหลักเกณฑ์คุณสมบัติ และให้สอบแข่งขันกัน โดยมีเกณฑ์วัดผลกำกับไว้ และผู้ที่จะได้รับการบรรจุจะต้องมีคะแนนผ่านเกณฑ์ไล่ระดับจากมากไปหาน้อย นอกจากนี้ การสอบแข่งขันมักจะกำหนดรับสมัครบุคคลเป็นผู้ซึ่งมีคุณสมบัติทั่วไปไม่เป็นการเฉพาะเจาะจง
2. การสอบคัดเลือก หมายถึง
การสรรหาบุคคล โดยวิธีการคัดเลือก จากบุคคลที่สมัครเข้ารับการคัดเลือก ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจง โดยวิธีการสอบ การทดสอบ ซึ่งผู้สอบจะต้องเข้ารับการคัดเลือก และผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับของรู้ความสามารถตามความเหมาะสม เพื่อเข้ารับราชการ โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน
เช่น
2.1 การคัดเลือกจากผู้ได้รับทุนรัฐบาล
2.2 การคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็นคุณวุฒิขาดแคลน
2.3 การคัดเลือกกรณีอื่น ๆ
ซึ่งการคัดเลือกส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดคุณสมบัติตัวบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ ไม่เป็นการทั่วไป จึงทำให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่แคบลงนั่นเอง
ส่วนคำต่าง ๆ ด้านล่างนี้ เป็นเกร็ดรู้ ที่มักจะเจอในหนังสือประกาศสอบราชการ ซึ่งเพื่อน ๆ ต้องรู้จักความหมายและทำความเข้าใจเวลาอ่านนะครับ
3.การสรรหาบุคคล หมายถึง
2.1 การคัดเลือกจากผู้ได้รับทุนรัฐบาล
2.2 การคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็นคุณวุฒิขาดแคลน
2.3 การคัดเลือกกรณีอื่น ๆ
ซึ่งการคัดเลือกส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดคุณสมบัติตัวบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ ไม่เป็นการทั่วไป จึงทำให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่แคบลงนั่นเอง
ส่วนคำต่าง ๆ ด้านล่างนี้ เป็นเกร็ดรู้ ที่มักจะเจอในหนังสือประกาศสอบราชการ ซึ่งเพื่อน ๆ ต้องรู้จักความหมายและทำความเข้าใจเวลาอ่านนะครับ
3.การสรรหาบุคคล หมายถึง
การเสาะแสวงหาบุคคลที่พร้อมและสามารถจะทำงานได้ เข้ามาสมัครเข้าทำงานตามที่ส่วนราชการกำหนด กล่าวคือ เป็นวิธีการ
4.การเลือกสรร หมายถึง
การพิจารณาบุคคลที่ส่วนราชการได้เลือกสรรมาทั้งหมด และทำการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานและส่วนราชการมากที่สุด
5.การบรรจุ หมายถึง
การรับบุคคลที่ไม่ได้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญด้วยวิธีการสอบแข่งขันหรือสอบคัดเลือก โดยเป็นการทำให้มีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการพลเรือน ซึ่งการบรรจุนี้ บุคคลก็ผู้ได้รับการบรรจุก็มาจากวิธีการใด วิธีการหนึ่งทั้งการสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือก นั่นเอง
6.การแต่งตั้ง หมายถึง
การสั่งให้ข้าราชการมีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบงานในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง และมีสิทธิที่จะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้น
7.การย้าย หมายถึง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งอื่นในกรมเดียวกัน ซึ่งจะเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้
8.การโอน หมายถึง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งในกระทรวงหนึ่งหรือกรมหนึ่ง ให้ดำรงตำแหน่งในกระทรวงหรือกรมอื่น ซึ่งจะเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้
9.การเลื่อน หมายถึง
การแต่งตั้ง "ข้าราชการพลเรือนสามัญ" ให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่สูงกว่าเดิม
คงพอเข้าใจกันคร่าว ๆ แล้วใช่ไหมครับว่า วลีแต่ละวลีที่เห็นกันในประกาศรับสมัครบุคคลของแต่ละส่วนราชการนั้น มีความหมายอยู่ในคำแตกต่างกัน ทั้งนี้ เห็นในหลาย ๆ หน่วยงานนำวลีบางวลีเหล่านี้ไปออกข้อสอบในภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ด้วยก็มี
ดังนั้น เกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับอาชีพราชการ ซึ่งผู้ที่จะเป็นข้าราชการต้องรอบรู้ รอบคอบ และมีความใส่ใจ
อนึ่ง หากท่านเห็นว่าบทความนี้ เป็นประโยชน์ทั้งตนเองและต่อผู้อื่น โปรดสละเวลากดแชร์หน้าเพจ หรือกดติดตามเพจศูนย์ข่าวเปิดสอบงานราชการ เพื่อที่จักเป็นการส่งมอบกำลังใจให้กับ
อนึ่ง หากท่านเห็นว่าบทความนี้ เป็นประโยชน์ทั้งตนเองและต่อผู้อื่น โปรดสละเวลากดแชร์หน้าเพจ หรือกดติดตามเพจศูนย์ข่าวเปิดสอบงานราชการ เพื่อที่จักเป็นการส่งมอบกำลังใจให้กับ
แอดมินในการพัฒนาสาระดี ๆ มานำเสนอท่านและคนรอบข้างต่อไป
No comments
Post a Comment